เมื่อการตลาดเปลี่ยนโลกแห่งวงการแฟชั่น


ภาพการเยื้องย่างของนางแบบ นายแบบบนแคทวอล์ค มักทำให้คนจินตนาการไปถึงการเดินแฟชั่นโชว์ของห้องเสื้อ หรือดีไซเนอร์ชั้นนำ และบ่อยครั้งที่ความคิดสร้างสรรค์ ความหรูหรา เสน่ห์ และลีลาของแฟชั่นได้กลายเป็นองค์ประ- กอบสำคัญที่ผลักดันให้เราเสียเงินเพื่อซื้อหาเสื้อผ้าอาภรณ์ ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีความจำเป็น ต้องใช้มันจริงๆ แม้ธุรกิจแฟชั่นจะสร้างมูลค่าจนสามารถผลิดอกออกผลได้อย่างมหาศาล แต่ถ้าจะทำความเข้าใจอุตสาหกรรม แฟชั่น กันให้ลึกซึ้งจริงๆ คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะหยั่งถึงได้ในเวลาสั้นๆ เพราะเสื้อผ้าเมื่อผลิตเสร็จออกจาก โรงงาน มันก็เป็น เพียงสิ่งที่มีไว้เพื่อสวมใส่เท่านั้น แต่ทันทีที่นักการตลาดเอื้อมมือไปจับต้องเสื้อผ้าธรรมดา มันก็จะกลายเป็น “แฟชั่น” ทันที

ทุกวันนี้ หลายคนอาจมองอุตสาหกรรม “แฟชั่น” ว่าไม่ใช่เรื่องของความต้องการพื้นฐาน (หรือปัจจัยสี่) โดยตรงที เดียวนัก แต่มันก็เป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล ประมาณได้ว่าเงินที่ถูกใช้ไปเพื่อเสื้อผ้า-รองเท้าทั่วโลกตกอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี

ทั้งนี้สินค้าประเภทแฟชั่นและเครื่องหนังจะครองส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุด อยู่ที่ประมาณ 42% ของยอดขาย ขณะที่น้ำหอมและเครื่องสำอาง ซึ่งมักจะขายโดยอาศัยชื่อแฟชั่นดีไซเนอร์ จะครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 37% นาฬิกาและเครื่องประดับจะครองส่วนแบ่งที่เหลือ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่มหาศาลนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคนิคทางการตลาดและการสร้างแบรนด์ที่ซับซ้อน จึงนับเป็น เรื่องคุ้มค่ากับการเข้าไปตรวจสอบดูว่าอุตสาหกรรมนี้มันมีกลไกขับเคลื่อนอย่างไร หลายคนมองว่า เสื้อผ้าและเครื่องประดับคือภาพสะท้อนตัวตนของผู้คนในสังคม “เรารู้สึกกับตัวเราอย่างไร” “ปรารถนาให้คนอื่นมีพฤติกรรมต่อเราอย่างไร” แฟชั่นสามารถสื่อสารความต้องการนั้นออกมาได้

เป็นเรื่องไม่ง่ายเลยที่เราจะให้คำจำกัดความของคำว่า “แฟชั่น” เพราะคำๆ นี้มีความหมายกว้างไกลเกินกว่าจะจำกัด ความได้ในตัวของมันเอง คุณภาณุ อิงคะวัต แห่งแบรนด์เกรย์ฮาวด์ มองว่า แฟชั่นคือ “เทรนด์” ” แฟชั่น คือ กระแสนิยมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาและยุคสมัย ซึ่งมันอาจเกิดขึ้นมาจากกระแสสังคม การกิน การอยู่ การใช้คำพูด เสื้อผ้า เพียงแต่คนทั่วไปมักเอาคำว่าแฟชั่นมารวมกับเสื้อผ้ากันเยอะ แต่จริงๆ แล้วแฟชั่นมันก็คือ เทรนด์ นั่นเอง”

“แฟชั่นไม่ได้มีความหมายเดียวตายตัว แต่จะแตกต่างกันไปสำหรับคนแต่ละกลุ่ม แต่ละช่วงเวลา แต่ละสถานที่หรือ บริบท ยกตัวอย่างเช่น เด็กวัยรุ่นในกรุงเทพฯ กับ แม่บ้านอาศัยอยู่ต่างจังหวัด ในระดับประเทศหรือสังคม แฟชั่นเป็น มากกว่าเสื้อผ้า มันหมายถึง วิถีการดำรงชีวิต การบริโภค มุมมอง ไม่ได้เป็นแค่เสื้อผ้า มันสามารถเป็นรถยนต์ โทรศัพท์และอื่นๆ อีก”

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมแฟชั่น เพราะธุรกิจนี้อยู่ในช่วงของการเปลี่ยน แปลงครั้งสำคัญ สาเหตุประการแรกคือ อุตสาหกรรมนี้ยังคงต่อสู้กับผลกระทบของข้อบังคับด้านการค้า เกี่ยวกับสิ่งทอในเดือนมกราคม ปี 2005 ความขัดแย้งเรื่องโควต้าที่มีมายาวนาน ส่งผลให้จีนซึ่งเป็นผู้นำในตลาดสิ่งทอสามารถเพิ่มปริมาณการส่ง ออกกดดันให้ราคาสิ่งทอต่ำลงไปอีก ซึ่งแฟชั่นแบรนด์ก็น่าที่จะยกผลประโยชน์นี้ให้ผู้บริโภค เพื่อสามารถซื้อสินค้าได้ ในราคาที่ถูกลง แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีความเป็นไปได้ว่าหลายๆแบรนด์จะสามารถทำธุรกิจได้แบบมีกำไรมากขึ้นด้วย ร้านเสื้อผ้าแบบ Chain Stores อาจจะสูญเสียยอดขายไปบ้าง เพราะร้านประเภทซูเปอร์มาร์เก็ตหันมาพัฒนาเสื้อผ้า ราคาถูกขาย และช่องว่างระหว่าง แฟชั่นแบรนด์ ที่มีมูลค่าเพิ่ม กับ Everyday Clothing ก็ดูเหมือนจะเห็นชัดเจนขึ้น ทุกวัน ดังนั้นแล้ว จินตนาการและการสร้างสรรค์ด้านการตลาดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ในการสร้างรัศมีความพิเศษให้ กับแบรนด์ต่างๆในทุกวันนี้ แฟชั่นอาจดูเหมือนเป็นธุรกิจที่มีอายุสั้น แต่ก็เป็นธุรกิจที่ซับซ้อนและน่าหลงใหลไม่สิ้นสุด แฟชั่นเปลี่ยนเสื้อผ้าธรรมดาให้กลายเป็นสิ่งที่ลึกลับ เปี่ยมด้วยพลัง และมีเนื้อหามากมายซ่อนอยู่ แต่สิ่งหนึ่งที่อยู่ยงเป็นอมตะก็คือ ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจแฟชั่นระดับไหน หรือตั้งใจจะขายใคร มันก็เป็นเรื่องของธุรกิจ ทั้งสิ้น ดีไซเนอร์หน้าใหม่ที่ได้รับการชื่นชมว่าไอเดียบรรเจิด ฝีมือสุดยอด ครั้งหนึ่งก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องนั่ง ทำงานให้กับกลุ่มธุรกิจแฟชั่นระดับโลกไม่กี่กลุ่ม เสื้อผ้าที่ดีไซเนอร์เหล่านี้ผลิตออกไปจะไม่มีความหมายใดเลย หากไม่สามารถสร้างยอดขายให้กระเป๋า แว่นตา และน้ำหอมภายใต้แบรนด์เดียวกันด้วย